วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

4 เหตุผลพบได้บ่อย สาเหตุ “นอนไม่หลับ”


     ไม่มีใครไม่อยากนอนไม่หลับ แม้ว่าจะอยากให้วันหนึ่งมีมากกว่า 24 ชั่วโมงเพื่อที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากกว่าก็เดิมก็ตาม แต่สุดท้ายถึงช่วงเวลาที่อยากนอนหลับ ใครๆ ก็อยากนอนง่ายๆ สบายๆ หัวถึงหมอนก็หลับได้เลย แต่หากใครที่นอนอย่างไรก็ไม่หลับ นอกจากจะต้องทรมานกับอาการอ่อนเพลียจนทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงในระยะสั้นแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย


4 เหตุผลพบได้บ่อย สาเหตุ “นอนไม่หลับ”

1. อายุที่มากขึ้น
หากลองสังเกตจะพบว่าในช่วงวัยเด็กเรานอนหลับกันง่ายมาก ง่วงง่าย หลับง่าย ในขณะที่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อายุมากขึ้น จะเริ่มตื่นง่ายกว่าเดิม ตื่นเช้ามากกว่าปกติ รวมถึงนอนหลับยากขึ้นด้วย ส่งผลให้ระยะเวลาในการนอนน้อยกว่าช่วงวัยเด็ก จาก 8-10 ชั่วโมงลดเหลือ 6-8 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังตื่นขึ้นมากลางดึกง่ายหากมีการรบกวนด้วยแสง เสียง หรือการลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อยกว่าในช่วงวัยเด็ก เป็นต้น

2. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
วิถีชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลถึงการนอนหลับของคุณได้เช่นกัน เช่น

- ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนถึงเวลาเข้านอนไม่เกิน 4 ชั่วโมง บางคนอาจคิดว่าแอลกอฮอล์อาจทำให้หลับง่ายขึ้น เพราะบางคนดื่มแล้วง่วงนอน แต่ไม่ใช่กับทุกคน และไม่ใช่เรื่องดีที่จะต้องพึ่งพา แอลกอฮอล์ในการเข้านอนอีกด้วย นอนไม่หลับ 

-กินอาหารก่อนเข้านอนไม่เกิน 4 ชั่วโมง การเข้าทันที หรือหลังกินอาหารจนเต็มท้องไม่นาน อาจเสี่ยงกรดไหลย้อน หรือมีอาการแสบกลางอกได้ จึงทำให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิทได้

-งีบระหว่างวันมากเกินไป ในช่วงวันหยุด หลายคนอาจจะขอเวลาในช่วงกลางวันงีบหลับเพื่อพักสายตาสัก 10-15 นาที แต่บางคนก็งีบหลับไปหลายชั่วโมง นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ตอนกลางคืนไม่หลับไม่นอนเพราะตาสว่างเรียบร้อยแล้ว สาเหตุนี้อาจเกิดขึ้นได้กับวัยชราที่มักงีบหลับในตอนบ่ายได้

-ดื่มคาเฟอีนมากเกินไป แม้ว่าแต่ละคนจะมีความทนทานต่อคาเฟอีนมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ไม่ว่าอย่างไรการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ส่งผลให้สมองตื่นตัวมากจนนอนไม่หลับในตอนกลางคืนได้ โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยได้ดื่มคาเฟอีนเท่าไร มีปฏิกิริยาต่อคาเฟอีนมากกว่าคนปกติ หรือดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนในช่วงเย็นของวัน (ก่อนนอน 6 ชั่วโมง) สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เรานอนไม่หลับได้

3. ผลข้างเคียงจากการกินยารักษาโรคบางชนิด
ยาบางชนิดกินแล้วง่วง แต่ก็มียาบางชนิดกินแล้วไม่ง่วงเช่นเดียวกัน เช่น

-ยาต้านโรคซึมเศร้า
-กลุ่มยาลดความดันโลหิต
-ยาแก้หวัดที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
-ยาลดอาการบวมอักเสบ/หืดหอบ

4. อาการข้างเคียงจากโรคประจำตัว
โรคประจำตัวบางอย่างมีอาการข้างเคียงที่ส่งผลต่อการหลับนอนได้เหมือนกัน เช่น

-วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
-ต่อมลูกหมากโต
-ปวดเรื้อรัง
-โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
-ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากความผิดปกติของการสั่งงานของสมอง สังเกตได้จากการนอนกรนเสียงดังกลางดึก อาจเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

นอนอย่างไรให้หลับ
1.งดเครื่องดื่ม และอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
2.งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
3.ไม่งีบหลับตอนกลางวันนานเกิน 1 ชั่วโมง (หรืออาจจะไม่เกิน 30 นาที)
4.หากยาที่รับประทานอยู่ส่งผลให้นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาตัวยาใกล้เคียงแทน
5.รักษาโรคประจำตัวให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
6.นอนและตื่นนอนเวลาเดิมๆ ทุกวัน เพื่อให้ร่างกายคุ้นชิน
7.ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
8.สร้างบรรยากาศในห้องนอนให้สงบเงียบ อากาศเย็นสบายไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป
9.ไม่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ ก่อนนอน
10.อาจใช้กลิ่นในการช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น ครีมอาบน้ำ โลชั่น สเปรย์ เทียนหอม กลิ่นที่ช่วยให้หลับสบาย เช่น กลิ่นดอกลาเวนเดอร์ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://sleepsleepless.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

7 ประโยชน์ของการ "ตื่นเช้า"

1.ได้กินอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ คนที่ตื่นเช้ามักจะได้กินอาหารเช้า ในขณะที่คนตื่นสายจะเร่งรีบออกจากบ้าน และกินของที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งไม่...