วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

“นอนชดเชย” ในวันหยุด แก้ปัญหานอนไม่พอได้จริงหรือ?



       วัยเรียน วัยทำงานที่ต้องอ่านหนังสือ ทำงานหามรุ่งหามค่ำในช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์อยู่บ่อยๆ อาจจะคิดว่าไปนอนให้มากขึ้นเอาตอนวันเสาร์อาทิตย์น่าจะช่วยได้ จริงๆ แล้วมันสามารถนอนทดแทนเวลากันได้จริงหรือ?


ผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย Johns Hopkins ยืนยันว่าการนอนไม่พอระหว่างสัปดาห์ และหันมานอนชดเชยในช่วงวันหยุดแทนนั้น ไม่เป็นประโยชน์อะไรเพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาการพักผ่อนไม่พอแล้ว ยังจะเพิ่มความเสี่ยงเรื่องความอ้วน โรคเบาหวาน รวมทั้งความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและอื่นๆ ได้ด้วย

นักวิจัยศึกษาพฤติกรรมการนอนชดเชยในช่วงวันหยุด และพบว่ากลุ่มที่นอนไม่พอระหว่างสัปดาห์และพยายามนอนชดเชยนั้น มักจะมีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อเรานอนไม่พอ ร่างกายจะเผาผลาญแคลอรี่มากขึ้น ทำให้เราหิวบ่อยขึ้นและมักกินผิดเวลา

นอกจากนั้น การนอนไม่พอยังส่งผลต่อฮอร์โมนที่สำคัญสองตัวในร่างกายด้วย หนึ่งนั้นคือฮอร์โมน Leptin ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและลดความอยากอาหาร ซึ่งเมื่อเรานอนไม่พอฮอร์โมน Leptin นี้จะลดลง ในขณะที่ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งชื่อ Ghrelin ซึ่งเพิ่มความอยากอาหารจะมีระดับสูงขึ้น นอนไม่หลับ

แต่ที่สำคัญต่อสุขภาพมากกว่าน้ำหนักตัวหรือรอบเอว ก็คือการนอนไม่พอและพยายามหาเวลานอนชดเชยในช่วงสุดสัปดาห์ จะส่งผลต่ออินซูลินในกล้ามเนื้อและตับ ซึ่งก็หมายถึงว่าร่างกายของคนที่นอนไม่พอจะสูญเสียความสามารถในการควบคุมน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปัญหาความเสี่ยงของการเป็นเบาหวานได้

แพทย์เตือนว่า การนอนไม่พอและพยายามนอนชดเชยในช่วงวันหยุดนั้น นอกจากจะทำให้ระบบการย่อยอาหารของร่างกายเสียสมดุล ทำให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่ม มีไขมันเกาะที่บริเวณรอบเอว มีระดับโคเลสเตอรอลที่ผิดปกติ มีน้ำตาลในเลือดสูง และมีความดันโลหิตสูงแล้ว เรื่องเหล่านี้ยังเพิ่มโอกาสความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง และโรคเบาหวานได้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://sleepsleepless.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

7 ประโยชน์ของการ "ตื่นเช้า"

1.ได้กินอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ คนที่ตื่นเช้ามักจะได้กินอาหารเช้า ในขณะที่คนตื่นสายจะเร่งรีบออกจากบ้าน และกินของที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งไม่...