วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สาเหตุของการนอนไม่หลับ



      หลายคนคงเคยประสบปัญหาเรียน ทำงานเหนื่อยมาทั้งวัน ตกดึกก็อยากจะหลับให้เต็มอิ่มสักหน่อย แต่ไม่รู้ทำไมตอนกลางคืนหนังตากลับตึง ไม่ง่วงหนังตาหย่อนเหมือนตอนเช้าเลยล่ะ ขืนเป็นอย่างนี้นานวันเข้าจะเสียการเสียงาน เสียสุขภาพจิตเอานะ 


สาเหตุของการนอนไม่หลับ
1. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจ (Psychologic Causes of Insomnia)

จากการเก็บข้อมูลพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับส่วนใหญ่มักเกิดจากอาการที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องของจิตใจ อาทิ โรคเครียด โรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 70 จะมีอาการนอนไม่กลับเป็นอาการหลักๆ

2. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่มีปัจจัยที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการนอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาทิ

- Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่น ผลจากความเครียด , การเจ็บป่วย , การผ่าตัด , การสูญเสียของรัก , เรื่องงาน ซึ่งเมื่อใดที่สิ่งกระตุ้นเหล่านี้หาย อาการนอนไม่หลับจะกลับสู่สภาวะปกติ
- Jet Lag มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เดินทางบินข้ามเขตเวลา ทำให้ร่างกายต้องเปลี่ยนเวลานอนจนปรับตัวไม่ทัน เป็นเหตุให้นอนหลับยาก
- Working Conditions เป็นผลมาจากการที่ต้องเข้างานเป็นกะ ทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไป จนทำให้ต้องนอนไม่เป็นเวลา
- Medications อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการใช้ยา หรือเครื่องดื่ม เช่น ยาลดน้ำมูก , กาแฟ

3. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เกิดจากโรค (Medical and Physical Conditions) ซึ่งบางโรคก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ อาทิ

- โรคบางโรคเมื่อขณะเกิดจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ เช่น โรคหอบหืด , โรคหัวใจวาย , โรคภูมิแพ้ , โรคสมองเสื่อม , โรคพาร์คินสัน , โรคคอพอกเป็นพิษ
- ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน Progesteron เมื่อฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้นก็จะทำให้ง่วงนอนในช่วงไข่ตก  แต่ในช่วงที่ประจำเดือนใกล้มาจะมีฮอร์โมนน้อย อาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับ อีกทั้งเมื่อคุณสาวๆ กำลังตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ และระยะใกล้คลอดก็จะมีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงช่วงแรกของผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยทอง ก็จะมีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
- การเปลี่ยนเวลานอน Delayed Sleep-Phase Syndrome ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ อาทิ เมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอน ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
   
4. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เป็นปัจจัยเสริม (Perpetuating Factors) มีหลายภาวะที่เสริมส่งให้การนอนไม่หลับเกิดได้ง่ายมากขึ้น

- Psychophysiological Insomnia เกิดจากการนอนก่อนเวลาทำให้นอนไม่หลับ เรียกว่า Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนๆ นั้นพยายามที่จะต้องนอนให้หลับ กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนเกิดการสะสมแล้วกลายเป็นความเครียด โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีลักษณะชีพจรเต้นเร็ว ตื่นง่าย อุณหภูมิร่างกายจะสูงกว่าปกติ
- นอนไม่หลับจากสารบางชนิด อาทิ สุรา กาแฟ ซึ่งการดื่มกาแฟ หรือสุราในช่วงกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับ ถ้าไม่นับรวมว่าการดื่มสุราแค่เพียงจิบ หรือเพียงเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียด ทำให้นอนได้หลับดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากดื่มมากเกินไปก็จะทำให้หลับได้ไม่นาน ตื่นง่าย เมื่อถึงช่วงอดสุราก็จะมีปัญหาหลับยาก รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จะนอนหลับประมาณ 3 - 4 ชั่วโมงแล้วตื่น อันเนื่องมาจากมีระดับ Nicotin ที่ลดลง
- ระดับ Melatonin ลดลง ส่วนใหญ่ Melatonin จะมีมากในเด็กและลดลงในวัยผู้ใหญ่หลังช่วงอายุ 60 ปี มีส่วนให้เกิดอาการนอนหลับยาก
- ปัจจัยจากแสงก็มีส่วนให้เกิดอาการนอนหลับยาก จากความรู้เบื้องต้นว่าแสงจะกระตุ้นให้ร่างกายเราตื่น ถึงแม้ว่าจะหรี่แสงลงแล้วก็ตาม
- การนอนไม่หลับในวัยเด็ก พ่อแม่ให้เวลานอนลูกไม่สม่ำเสมอจะทำให้เด็กนอนไม่หลับในตอนโต
- การออกกำลังกายในช่วงก่อนนอนและการทำงานที่ทำให้เกิดความเครียดในช่วงก่อนนอน
- การนอนและการตื่นที่ไม่เป็นเวลา
- สิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนไม่เหมาะสม เช่น มีอุณหภูมิที่ร้อน หรือหนาวจนเกินไป เสียงดังเกินไป รวมถึงลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด อย่าง นอนดิ้น หรือนอนกรน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก :  Cumentalhealth , Saint Louis School

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

7 ประโยชน์ของการ "ตื่นเช้า"

1.ได้กินอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ คนที่ตื่นเช้ามักจะได้กินอาหารเช้า ในขณะที่คนตื่นสายจะเร่งรีบออกจากบ้าน และกินของที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งไม่...